วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง การกำเนิดของเสียง

โรงเรียนดาราคาม


ครู สง่า  ทรัพย์เฮง

-ขั้นตอนการสอน

การสอนของครูสง่า เป็นการจัดกิจกรรมการทดลอง คือ ครูสง่านำแท่งโลหะ 2 แท่ง  และช้อนซ้อน 2 อัน มาให้นักเรียนสลับกันเคาะ หลังจากนั้นก็ฝึกให้นักเรียนมีได้ฟัง ได้สังเกต และได้คิด โดยให้นักเรียนฝึกตอบคำถาม ว่ามีเสียงที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และเสียงมาจากแหล่งไหนได้บ้าง

-สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้

เด็กได้ทราบถึงการกำเนิดของเสียง คือเสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ  เมื่อมวลเนื้อวัตถุถูกเคาะแล้วเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงออกมาให้ได้ยิน จากการทดลองนี้เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือได้ทดลองรู้จักคิด  ฟัง และสังเกต ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงได้ในชีวิตประจำวันได้

-สิ่งที่เด็กได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ได้ทักษะการฟัง
ได้ทักษะการคิด
ได้ทักษะการสังเกต

ได้ทักษะการทดลองและการตอบคำถาม












สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ชื่อผู้แต่ง  นางณัฐชุดา  สาครเจริญ

ต้องการพัฒนาอะไร
ต้องการพัฒนาการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ขั้นตอนการทำ 
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนนอก  (ประชาราษฎร์อนุกูล)   (Pretest) ก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังเสร็จสิ้นการทดลองโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยมาตรวจให้คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติต่อไป                        

ผลที่ได้รับ

 การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและการจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11/11/57
เรียนครั้งที่ 13 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(ความรู้ที่ได้รับ)

ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เราเขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆมากมาย กลุ่มเรียน102 ทั้งหมด9กลุ่ม ซึ่งได้เรียงการนำเสนองานตามวันดังนี้  

                    กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์     
                    กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
                    กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ    
                    กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
                    กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์        
                    กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์ 
                    กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร      
                    กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
                    กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี

บรรยากาศในห้องเรียน


                                   


(การนำไปประยุกต์ใช้)

             เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย เมื่อมีแผนแล้ว การสอนก็ยิ่งมีความจำเป็นมากเพราะเราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้รับความรู้ ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และเด็กสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน บทบาทเป็นคุณครูนั้นเอง

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานที่กำลังนำเสนอของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันทุกคน

อาจารย์ผู้สอน = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 04/11/57
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434





(การนำไปประยุกต์ใช้)เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย ในการเขียนแผนนั้นต้องมีแบบแผน ไม่ใช่การเขียนอะไรก็ได้ตามใจชอบ ต้องคำนึ่งถึงความเป็นจริงและความถูกต้องรวมทั้งความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเด็ก การเขียนแผนจึงไม่ใช้เรื่องที่ง่ายๆเลย ต้องได้รับการฝึกฝนนั้นเอง

(การประเมินผล)ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานกลุ่ม เกี่ยวกับการเขียนแผนเพื่อที่จะส่งในเร็วๆนี้

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานเขียนแผนของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

อาจารย์ผู้สอน = ในวันนี้อาจารย์ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนอย่างละเอียด อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะกลุ่มอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

                                       





บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28/10/57
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434






การนำไปประยุกต์ใช้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในเรื่องของการทดลอง เด็กๆจะสนุกกับการทดลอง ทำให้เด็กเกิดความสนใจและพัฒนาทางการเรียนรู้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย (การประเมินผล)ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตามเพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันลงมือปฏิบัติและตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคนอาจารย์ผู้สอน = ในวันนี้อาจารย์ได้มีสื่ออุปกรณ์มากมายมาให้นักศึกษาได้ทดลอง ทำให้นักศึกษามีความสนใจมาก และยังเข้าใจมากขึ้นเพราะได้เห็นของจริงและปฏิบัติจริง นอกจากนี้อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะมีขอเสนอแนะให้เราคิดและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อความเหมาะสมของงานนั้นเอง


การจัดกิจกรรมหน่วย "ข้าวโพด" (Corn)





ความลับของอากาศ